การรับรองสิทธิต่อสู้คดีของจำเลยในคดีอาญา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่าในคดีอาญา ภาระการพิสูจน์ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตกอยู่แก่ผู้กล่าวหาหรือโจทก์แล้วแต่กรณี และวรรค 2 ของมาตรานี้บัญญัติว่า ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดกระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

บทบัญญัติที่จำกัดสิทธิต่อสู้คดีของผู้ต้องหาหรือจำเลย

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ตามมมาตรา 15 วรรคสอง มีข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดว่า การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การมีข้อสันนิษฐานเด็ดขาดดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสามารถต่อสู้ว่าตนมิได้มีไว้ซึ่งยาเสพติดให้โทษเพื่อจำหน่าย ดังนั้น มาตรา 15 วรรคสอง จึงเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิต่อสู้คดีของผู้ต้องหาหรือจำเลย

สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ไม่มีบทบัญญัติใดๆ ของรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิต่อสู้คดีของจำเลยในคดีอาญาไว้โดยชัดแจ้ง โดยที่ในประเทศประชาธิปไตยตะวันตกเช่น ประเทศฝรั่งเศส ศาลรับธรรมนูญได้รับรองสิทธิต่อสู้คดี (Droits dela defense) ไว้ในฐานที่เป็นหลักการที่มีค่าบังคับของรัฐธรรมนูญ (Le principes à valeur constitutionnelle) โดยถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมายแห่งสาธารณรัฐ  (les lois de la République)(คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ลงวันที่ 2 ธันวาคม 1976)

อ่านคำวินิจฉัยฉบับเต็มที่ 11/2544