โดย

ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม

การช่วยเหลือของดร.อิสสระ ในด้านการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในระยะแรกของการก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนสำคัญทำให้ได้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร ในเวลาต่อมา

เขมภัทร ทฤษฎิคุณ 

ชีวิตและงานของท่านซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ยึดมั่นในหลักวิชา และซื่อสัตย์ในการปฏิบัติหน้าที่จนเป็นที่ประจักษ์นั้นยังคงเด่นชัด เป็นวิถีทางสำหรับคนรุ่นถัดไปได้เลือกเดิน

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ 

ตลอดระยะเวลาที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับท่านศาสตราจารย์ดร.อิสสระ ทำให้เข้าใจถึงคำว่า บารมีทาน เพราะทุกครั้งที่ผมร่วมเดินทางไปชี้แจงงบประมาณกับท่านอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎร หรือสภากรุงเทพมหานคร ในฐานะตัวแทนของฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร จะพบแต่การต้อนรับด้วยความเกรงอกเกรงใจในตัวท่านอาจารย์จากเจ้าของหน่วยงาน แม้แต่ในขั้นตอนการประชุมภายในเพื่อการจัดเตรียมงบประมาณ ท่านจะแสดงถึงความเมตตาด้วยการให้ความรู้ตอบข้อซักถามหรือให้คำแนะนำในฐานะผู้ให้กับทุกคนที่ร่วมงานด้วยเสมอ

ธีระพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ์

ดร.อิสสระได้แนะนำและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ทำให้การดำเนินงานของบริษัทในระยะแรก ซึ่งมีปัญหาเรื่องการบริหารระบบองค์กรให้ดำเนินการลุล่วงด้วยดี

ศาสตราจารย์พิเศษประสิทธิ์ โฆวิไลกูล

ท่านอาจารย์ ดร. อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ เป็นผู้บุกเบิกในการสอนวิชากฎหมายเศรษฐกิจมหาชนว่าด้วยการเงินการคลัง และเป็นบุคคลที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูที่ดี

ศาสตราจารย์ดร.พนัส สิมะเสถียร

ผมมีความทรงจำที่ดีกับ​ ดร.อิสสระ ท่านเป็นคนละเอียดรอบคอบสมกับเป็นนักกฎหมายและนักงบประมาณ ท่านเป็นคนง่ายๆ เปิดเผย และเข้ากับคนได้ง่าย ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

ดร.พิจิตต รัตตกุล 

ผลงานที่พี่อิสสระ ได้ทำไว้ให้คนกรุงเทพมหานครในหลาย ๆ เรื่อง แม้จะลืมเลือนไปจากความทรงจำบ้างแล้ว  แต่ผลพวงและอานิสงส์ของการพัฒนาดังกล่าวที่ยังใช้งานเป็นประโยชน์ได้ดีต่อ กทม.อยู่จนปัจจุบัน”

พูลทรัพย์ ปิยะอนันต์

ท่าน ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ เป็นข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริต และมีฝีมือในการทำงานมาก
ผมโชคดีที่ได้ทำงานภายใต้การบังคับบัญชาของท่านเป็นเวลานานที่สำนักงบประมาณ ทำให้ได้เรียนรู้การทำงานต่างๆ ทางราชการ ทั้งเรื่องการร่างหนังสือ การเขียนรายงานและกฎหมายมหาชน

รศ.ดร.โภคิน พลกุล

หากนักนิติศาสตร์รุ่นใหม่จะหา Idol สักคน ผมเห็นว่าคนๆ นั้นคือ อาจารย์อิสสระ ผู้ที่ยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม ท่านยึดมั่นในหลักการกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่เปลี่ยนแปลงหรือไม่แกว่งโอนเอนไปนอกหลักการทางกฎหมาย

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ 

ตลอดระยะเวลาที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับท่านศาสตราจารย์ดร.อิสสระ ทำให้เข้าใจถึงคำว่า บารมีทาน เพราะทุกครั้งที่ผมร่วมเดินทางไปชี้แจงงบประมาณกับท่านอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎร หรือสภากรุงเทพมหานคร ในฐานะตัวแทนของฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร จะพบแต่การต้อนรับด้วยความเกรงอกเกรงใจในตัวท่านอาจารย์จากเจ้าของหน่วยงาน แม้แต่ในขั้นตอนการประชุมภายในเพื่อการจัดเตรียมงบประมาณ ท่านจะแสดงถึงความเมตตาด้วยการให้ความรู้ตอบข้อซักถามหรือให้คำแนะนำในฐานะผู้ให้กับทุกคนที่ร่วมงานด้วยเสมอ

วิทยา เวชชาชีวะ

ในการรับราชการ พี่อิสสระก็มิได้ทำให้ญาติผู้ใหญ่ผิดหวัง ตรงกันข้าม ได้แต่ชื่นชมในความสำเร็จอันงดงาม ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเกษียณอายุจากราชการประจำแล้ว

ศิริพงศ์ อทัญญูตา

ท่านมีความเชี่ยวชาญอย่างสูงยิ่งในด้านกฎหมาย รวมทั้งในการปฏิบัติงานท่านยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง โปร่งใสและเป็นธรรม ทำให้ภารกิจสำคัญต่างๆ ของสำนักงบประมาณโดยเฉพาะทางด้านกฎหมายทั้งในการเสนอความเห็น การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมาย หรือร่างกฎหมายขึ้นใหม่ ว่ากันว่าท่านเป็นหลักในความสำเร็จของกฎหมายเกือบทุกฉบับ

ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์

ศาสตราจารย์ ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ได้ใช้ความรู้ความสามารถในทางวิชาการและความรู้ในทางปฏิบัติมาเขียนเป็นตำรา บทความ และคำพิพากษาในทางกฎหมายมหาชนอันนำมาสู่การผลักดันความคิดให้เกิดการบัญญัติกฎหมายใหม่ ๆ และการพัฒนากฎหมายมหาชนให้เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย ท่านอาจารย์จึงมีคุณูปการเป็นอย่างมากต่อวงการนิติศาสตร์และสังคมไทยและเป็นผู้วางรากฐานให้แก่กฎหมายมหาชนในประเทศอย่างแท้จริง

ศ.ดร.สุจิต บุญบงการ

ตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการและเป็นประธานศาลศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบ 70 ปี บริบูรณ์ ท่านได้แสดงบทบาทในการวินิจฉัยคดีต่างๆ ด้วยความเที่ยงธรรม ตรงไปตรงมาตามหลักการของกฎหมายและเจตนามรณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยไม่หวั่นเกรงต่ออิทธิพลใดๆ

สุภาวดี  อินทะวงษ์

อาจารย์อิสสระเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ทำงานหนัก มีความกล้าหาญ หนักแน่นในการทำหน้าที่ ไม่หวั่นไหวไปกับแรงกดดันอำนาจอิทธิพลใดๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในแวดวงการเมืองของไทย

อรวรรณ (  กริ่มวิรัตน์กุล ) ชูดี 

อาจารย์อิสสระ ที่มีวิธีให้ข่าวแบบชั้นครูคืออธิบายเฉพาะหลักการแง่กฎหมายเท่านั้นและอ.อิสสระคือ 1 ใน 7 ตุลาการเสียงข้างน้อย ที่ลงมติว่าผิด ซึ่งต้องถือเป็นความกล้าหาญในการทำหน้าที่ของตุลาการเสียงข้างน้อยเหล่านั้น

ดร.อำพน  กิตติอำพน

ผมได้เรียนรู้ได้เข้าใจถึงความพยายามของอาจารย์ที่ได้พยายามให้การใช้ทรัพยากรของรัฐได้ประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ได้รับการส่งเสริมในการทำการเกษตรด้วยวิชาการที่เหมาะสมเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่พอเพียงที่จะยึดอาชีพการเกษตรในการดำรงชีวิต