การตีความบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามหลักกฎหมายทั่วไป การตีความบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยทั่วไปจะตีความในทางขยายอำนาจของศาลนั้นได้ตราบเท่าที่ไม่กระทบกระเทือนอำนาจศาลอื่น
ส่วนการตีความกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะเรื่องนั้นจะต้องตีความอย่างเคร่งครัด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องไม่ตีความไปในทางที่ขยายอำนาจของศาลประเภทนี้ออกไปจากที่บัญญัติไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพราะการตีความเช่นนั้นจะเป็นผลให้มีการเพิ่มอำนาจของศาลโดยไม่ผ่านกระบวนการตราของกฎหมายหรือกระบวนการตรารัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ทำให้ศาลซึ่งเป็นผู้ตีความกฎหมายในการตัดสินคดีจะกลายเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติเสียเอง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติว่า ..”ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น” จะเห็นได้ว่า ตามนัยของบทบัญญัติดังกล่าว ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยทั่วไป (Juridiction de compétence générale) จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีใดๆ ได้ ถ้ารัฐธรรมนูญหรือกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าคดีนั้นๆ อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ส่วนศาลอื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหารนั้น ยอ่มมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติว่าอยู่ในอำนาจของศาลนั้นๆ จึงเป็นศาลทที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะเรื่อง (Juridiction de compétence exclusive)
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะเรื่อง ดังนั้น การตีความบทบัญญัติใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดตามหลักกฎหมายทั่วไป
การตีความบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามหลักกฎหมายทั่วไป การตีความบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยทั่วไปจะตีความในทางขยายอำนาจของศาลนั้นได้ตราบเท่าที่ไม่กระทบกระเทือนอำนาจศาลอื่น
ส่วนการตีความกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะเรื่องนั้นจะต้องตีความอย่างเคร่งครัด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องไม่ตีความไปในทางที่ขยายอำนาจของศาลประเภทนี้ออกไปจากที่บัญญัติไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพราะการตีความเช่นนั้นจะเป็นผลให้มีการเพิ่มอำนาจของศาลโดยไม่ผ่านกระบวนการตราของกฎหมายหรือกระบวนการตรารัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ทำให้ศาลซึ่งเป็นผู้ตีความกฎหมายในการตัดสินคดีจะกลายเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติเสียเอง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติว่า ..”ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น” จะเห็นได้ว่า ตามนัยของบทบัญญัติดังกล่าว ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยทั่วไป (Juridiction de compétence générale) จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีใดๆ ได้ ถ้ารัฐธรรมนูญหรือกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าคดีนั้นๆ อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ส่วนศาลอื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหารนั้น ยอ่มมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติว่าอยู่ในอำนาจของศาลนั้นๆ จึงเป็นศาลทที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะเรื่อง (Juridiction de competence exclusive)
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะเรื่อง ดังนั้น การตีความบทบัญญัติใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดตามหลักกฎหมายทั่วไป