1. กรณีไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 266
- คำวินิจฉัยที่ 15/2541 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอคำวินิจฉัยในการเสียสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้ง
- คำวินิจฉัยที่ 32/2543 เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณี คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. …. ของสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการวิสามัญ ฯ มีอำนาจขอหรือเพิ่มเติมฯ
- คำวินิจฉัยที่ 63/2543 เรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขอให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ใน การวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติ ฯ และการกระทำของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯ
- คำวินิจฉัยที่ 13/2544 เรื่อง ประธานรัฐสภาเสนอคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีการสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่
- คำวินิจฉัยที่ 18/2544 เรื่อง องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- คำวินิจฉัยที่ 3-4/2545 เรื่อง วุฒิสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 และประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 262 วรรคหนึ่ง (1)
- คำวินิจฉัยที่15/2545 เรื่องประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกระบวนการพิจารณาถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
2. กรณีไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของคู่ความอีกฝ่ายหรือของศาล หรือคำพิพากษาของศาลขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
- คำวินิจฉัยที่ 5/2541 เรื่อง ขอคำวินิจฉัยตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 241 วรรคสี่ และมาตรา 264 ประกอบมาตรา6
- คำวินิจฉัยที่ 16/2541 เรื่อง ศาลฎีกาส่งความเห็นของคู่ความ ซึ่งโต้แย้งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับความเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ
- คำวินิจฉัยที่ 11/2541 เรื่อง ศาลจังหวัดนนทบุรี ขอให้ส่งความเห็นกรณีคู่ความโต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
3. กรณีไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลหรือองค์กรใดเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการกระทำขององค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
4. กรณีไม่มีบทบัญญัติโดยชัดแจ้งหรือปริยายว่าการพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นใด การวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวจึงต้องอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
5. ผู้เสนอคำร้องไม่มีสิทธิเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย (ผู้เสนอคำร้องไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีสิทธิเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย)
- คำวินิจฉัยที่ 2/2541 เรื่อง กระทรวงมหาดไทยขอให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตำรวจชั้นผู้ใหญ่
- คำวินิจฉัยที่ 58-62/2543 เรื่อง พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
6. ข้อโต้แย้งของผู้ร้องไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 264 (ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ)
- ผู้ร้องเห็นว่าการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของศาลขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 8/2541 เรื่อง ศาลจังหวัดสตูลส่งคำร้องของ นายสรศักดิ์ วรานันตกุล ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย)
- ผู้ร้องขอให้วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้บริโภคตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ (คำวินิจฉัยที่ 8/2543 เรื่อง ศาลจังหวัดสงขลาส่งคำโต้แย้งของจำเลย (นายอนันต์ จันทรัตน์ กับพวก) เพื่อขอให้ศาล รัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264)
- จำเลยโต้แย้งว่าการคิดดอกเบี้ยผิดนัดของโจทก์ขัดต่อรัฐธรรมูญ (คำวินิจฉัยที่ 9/2543 เรื่อง ศาลจังหวัดสงขลาส่งคำโต้แย้งของจำเลย (นายฉลาด นำเอกลาภ) เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264)
- ขอให้วินิจฉัยว่าเรือนจำกลางปฏิบัติต่อจำเลยโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 3/2544 เรื่อง ศาลจังหวัดชลบุรีส่งคำร้องของจำเลย ในคดีอาญา ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย)
7. การยื่นคำร้องไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 145(3)
- คำวินิจฉัยที่ 30/2543 เรื่อง ผู้ขอจัดตั้งพรรคนำชัยขอให้วินิจฉัยชี้ขาดคำสั่งของนายทะเบียนพรรคการเมือง
8. คำสั่ง/ระเบียบ/ประกาศ/ข้อกำหนด ไม่ใช่กฎหมายตามนัยของมาตรา 264 วรรคหนึ่ง
- คำวินิจฉัยที่ 4/2542 เรื่อง ศาลจังหวัดสงขลาส่งข้อโต้แย้งของจำเลย (นายเกรียงศักดิ์ แซ่เล่า) ให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264
- คำวินิจฉัยที่ 14-15/2543 เรื่อง ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณา วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264
- คำวินิจฉัยที่ 16-19/2543 เรื่อง ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา วินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264
- คำวินิจฉัยที่ 25/2543 เรื่อง ศาลจังหวัดลำปางส่งคำโต้แย้งของโจทก์ (นายนิรันดร์ จิวะสันติการ) ในคดีแพ่งหมายเลขดำ ที่ 962/2543 กรณีระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา264
- คำวินิจฉัยที่ 9-10/2544 เรื่อง พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการรวมกิจการระหว่างธนาคารสหธนาคาร จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด
- คำวินิจฉัยที่ 27/2544 เรื่อง ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีส่งคำโต้แย้งของจำเลย (บริษัท น้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล จำกัด) เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ระเบียบและประกาศของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
- คำวินิจฉัยที่ 50/2544 เรื่อง ศาลภาษีอากรกลางส่งคำโต้แย้งของโจทก์ (บริษัทไทยวิวัฒน์เคหะ จำกัด) ในคดีหมายเลขที่ 143/2542 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
- คำวินิจฉัยที่ 7/2545 เรื่อง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรคสอง หรือไม่
9. ผู้ร้องไม่ได้กำหนดว่า มาตราใดของพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตราใด
10. ผู้ร้องมิได้ยกประเด็นที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมฯ ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 เป็นข้อต้อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ จึงวินิจฉัยให้ไม่ได้
11. มีการตราพระราชกฤษฏีกายุบสภา ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร/รัฐมนตรีของผู้ร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำร้อง
- คำวินิจฉัยที่ 57/2543 เรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (นายเนวิน ชิดชอบ) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า มติของพรรคเอกภาพ มีลักษณะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 วรรคสาม
- คำวินิจฉัยที่ 4/2544 เรื่อง ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีสิบคน สิ้นสุดลงเฉพาะตัว กรณีดำรงตำแหน่งในห้างหุ้นส่วนและบริษัท หรือไม่
12. ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อกฎหมายเดียวกับคำวินิจฉัยที่ผ่านมา
- คำวินิจฉัยที่ 15/2544 เรื่อง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนที่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว (กรณีนายไพบูลย์ รัตนเศรษฐ์ ผู้ร้อง) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง
- คำวินิจฉัยที่ 37-39/2544 เรื่อง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 90/46 และมาตรา 90/58 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 48 หรือไม่