1. กรณีไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 266

2. กรณีไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของคู่ความอีกฝ่ายหรือของศาล หรือคำพิพากษาของศาลขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

3. กรณีไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลหรือองค์กรใดเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการกระทำขององค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

4. กรณีไม่มีบทบัญญัติโดยชัดแจ้งหรือปริยายว่าการพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลอื่นใด การวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวจึงต้องอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม

5. ผู้เสนอคำร้องไม่มีสิทธิเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย (ผู้เสนอคำร้องไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีสิทธิเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย)

6. ข้อโต้แย้งของผู้ร้องไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 264 (ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ)

7.  การยื่นคำร้องไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 145(3)

8. คำสั่ง/ระเบียบ/ประกาศ/ข้อกำหนด ไม่ใช่กฎหมายตามนัยของมาตรา 264 วรรคหนึ่ง

9. ผู้ร้องไม่ได้กำหนดว่า มาตราใดของพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตราใด

10. ผู้ร้องมิได้ยกประเด็นที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมฯ ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 เป็นข้อต้อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ จึงวินิจฉัยให้ไม่ได้

11. มีการตราพระราชกฤษฏีกายุบสภา ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร/รัฐมนตรีของผู้ร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำร้อง

12. ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อกฎหมายเดียวกับคำวินิจฉัยที่ผ่านมา

13. จำหน่ายคำร้อง (ผู้ร้องตาย)